รับจัดหาและจำหน่าย Ingredients
9. สารสกัดไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์
ZINGIBER MONTANUM ROOT EXTRACT
รูปแบบของสารสกัด
ของเหลว
ส่วนของพืชที่ใช้
หัว (เหง้า)
วิธีการสกัด
สกัดด้วยตัวทำละลาย
แหล่งของวัตถุดิบ
ประเทศไทย
เกรด
เครื่องสำอาง
รสยาทางเภสัชกรรมไทย
รสร้อน
สรรพคุณและการนำไปใช้
สารสกัดไพลมี butanoids derivatives ที่เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ สาร D หรือ (E)-4(3′,4′-
dimethoxyphenyl)but-3-en-1-ol เป็นสารสําคัญในไพลที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และ(E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) มีฤทธิ์ลดอาการปวดและอักเสบของข้อเท้า ไพลจึงนิยมนำไปสกัดในรูปแบบต่างๆเช่น น้ำมันหอมระเหย สารสกัดชนิดน้ำ และชนิดผง เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆบรรเทาอาการปวด แก้เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ดอาการอักเสบ บวม เส้นตึง ถูนวดตัว และบำรุงผิวพรรณ
ไพลกับการต้านอนุมูลอิสระ : สารสำคัญที่พบในเหง้าไพลประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารสำคัญที่
เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ เช่น sabinene, alfa-terpinene, gamma-terpinene และ terpinen-4-ol เหง้าไพลยังมีสารสีเหลือง curcmin นอกจากนี้ยังมีสาร cassumunarin A, B และ C ซึ่งเป็น complex curcuminoids ซึ่งมีฤทธิ์ต้านกระบวนการอนุมูลอิสระได้แรงกว่า curcumin ช่วยบำรุงผิว ลดการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมของผิวหนัง ทำให้ผิวสุขภาพดีดูอ่อนเยาว์
ไพลกับฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ : สาร Terpinen-4-ol ในไพลมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบและการติดเชื้อ ช่วยลดการอักเสบ ปวดบวม ฟกช้ำ บรรเทาอาการแพ้ผื่นคัน ทำให้ผิวแข็งแรง ช่วยลดอาการแพ้ ป้องกันอาการแพ้ ช่วยบำรุงผิวให้ขาวกระจ่างใสขึ้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ใช้ผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ ครีมอาบน้ำ และยาหม่อง สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อทำหน้าที่เป็นสารออกฤทธิ์(Active Ingredient) ช่วยรักษา บำรุงผิวให้แข็งแรง ลดอาการแพ้ทางผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวขาวกระจ่างใสขึ้น
ปริมาณการใช้
1-5 % โดยเริ่มใช้จากปริมาณน้อยก่อนแล้วทดสอบประสิทธิภาพและยังสามารถเพิ่มอัตราส่วนเพื่อให้ได้ประสิทธิผลตามต้องการ ควรทดสอบการระคายเคืองทุกครั้งที่เพิ่มอัตราส่วนของสารสกัด
อายุและการเก็บรักษา
2 ปี นับจากวันที่ผลิต