รับจัดหาและจำหน่าย Ingredients
27. สารสกัดว่านชักมดลูก
ชื่อวิทยาศาสตร์
CURCUMA XANTHORRHIZA ROOT EXTRACT
รูปแบบของสารสกัด
ของเหลวสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนของพืชที่ใช้
เหง้า,หัว
วิธีการสกัด
สกัดด้วยตัวทำละลาย
แหล่งของวัตถุดิบ
ประเทศไทย
เกรด
เครื่องสำอาง
รสยาทางเภสัชกรรมไทย
รสฝาดเฝื่อน
สรรพคุณและการนำไปใช้
ว่านชักมดลูกที่ขายนั้นประกอบด้วยพืชอย่างน้อย 3 ชนิด คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย หรือ Curcuma comosa Roxb. และว่านชักมดลูกตัวผู้จำนวน 2 ชนิด คือ C. elata Roxb. และ C. latifolia Rosc. แต่มีเฉพาะว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้นที่ให้ฤทธิ์เกี่ยวข้องกับสตรี ว่านชักมดลูกตัวเมีย (C. comosa) พบสารไฟโตเอสโตรเจน กลุ่มไดแอริลเฮปทานอยด์ (diarylheptanoids) ประมาณ 15 ชนิด นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่ม เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) เช่น และสารกลุ่มอะซีโตฟีโนน (acetophenones) ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้นั้นพบสารกลุ่ม sesquiterpenes นอกจากองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันแล้ว ว่านชักมดลูก ตัวผู้ทั้งชนิด C. elata และ C. latifolia ต่างเป็นพิษต่อตับ อีกทั้งยังไม่พบรายงานฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของว่านชักมดลูกตัวผู้ดังนั้นการ นำว่านชักมดลูกไปใช้สำหรับสตรีวัยทองจึงควรเลือกใช้เฉพาะว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้น เนื่องจากสารสกัดว่านชักมดลูกตัวเมียพบว่ามีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ดังนั้นจึงมีสรรพคุณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวยกกระชับให้เต่งตึง ช่วยกระชับรูขุมขน ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยให้ผิวเรียบเนียน ช่วยลดเลือนฝ้า และรอยดำ ช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ
ปริมาณการใช้
1-5 % โดยเริ่มใช้จากปริมาณน้อยก่อนแล้วทดสอบประสิทธิภาพและยังสามารถเพิ่มอัตราส่วนเพื่อให้ได้ประสิทธิผลตามต้องการ ควรทดสอบการระคายเคืองทุกครั้งที่เพิ่มอัตราส่วนของสารสกัด
อายุและการเก็บรักษา
2 ปี นับจากวันที่ผลิต