Procurement and distribution of Ingredients
27. สารสกัดว่านชักมดลูก
scientific name
CURCUMA XANTHORRHIZA ROOT EXTRACT
extract form
ของเหลวสีน้ำตาลอ่อน
part of the plant used
เหง้า,หัว
extraction method
สกัดด้วยตัวทำละลาย
source of raw materials
ประเทศไทย
grade
เครื่องสำอาง
Thai pharmaceutical flavor
รสฝาดเฝื่อน
properties and use
ว่านชักมดลูกที่ขายนั้นประกอบด้วยพืชอย่างน้อย 3 ชนิด คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย หรือ Curcuma comosa Roxb. และว่านชักมดลูกตัวผู้จำนวน 2 ชนิด คือ C. elata Roxb. และ C. latifolia Rosc. แต่มีเฉพาะว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้นที่ให้ฤทธิ์เกี่ยวข้องกับสตรี ว่านชักมดลูกตัวเมีย (C. comosa) พบสารไฟโตเอสโตรเจน กลุ่มไดแอริลเฮปทานอยด์ (diarylheptanoids) ประมาณ 15 ชนิด นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่ม เคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) เช่น และสารกลุ่มอะซีโตฟีโนน (acetophenones) ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้นั้นพบสารกลุ่ม sesquiterpenes นอกจากองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันแล้ว ว่านชักมดลูก ตัวผู้ทั้งชนิด C. elata และ C. latifolia ต่างเป็นพิษต่อตับ อีกทั้งยังไม่พบรายงานฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของว่านชักมดลูกตัวผู้ดังนั้นการ นำว่านชักมดลูกไปใช้สำหรับสตรีวัยทองจึงควรเลือกใช้เฉพาะว่านชักมดลูกตัวเมียเท่านั้น เนื่องจากสารสกัดว่านชักมดลูกตัวเมียพบว่ามีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ดังนั้นจึงมีสรรพคุณ ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ช่วยกระชับกล้ามเนื้อ ทำให้ผิวยกกระชับให้เต่งตึง ช่วยกระชับรูขุมขน ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยให้ผิวเรียบเนียน ช่วยลดเลือนฝ้า และรอยดำ ช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ
consumption
1-5 % โดยเริ่มใช้จากปริมาณน้อยก่อนแล้วทดสอบประสิทธิภาพและยังสามารถเพิ่มอัตราส่วนเพื่อให้ได้ประสิทธิผลตามต้องการ ควรทดสอบการระคายเคืองทุกครั้งที่เพิ่มอัตราส่วนของสารสกัด
shelf life and storage
2 ปี นับจากวันที่ผลิต