Procurement and distribution of Ingredients
21. สารสกัดใบบัวบก
scientific name
CENTELLA ASIATICA LEAF EXTRACT
extract form
ของเหลวสีน้ำตาลอ่อน
part of the plant used
ใบ
extraction method
สกัดด้วยตัวทำละลาย
source of raw materials
ประเทศไทย
grade
เครื่องสำอาง
Thai pharmaceutical flavor
หอมเย็น
properties and use
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในบัวบก ได้แก่ กลุ่มสารประกอบเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids Compound) ที่พบมากที่สุดในใบบัวบก ซึ่งสารประกอบหลักของไตรเทอร์ปีนในบัวบกประกอบด้วยสารหลัก 4 ชนิด คือ มาเดคาสโซไซด์ (Madecassoside) อะเซียติโคไซด์ (Asiaticoside) กรดมาเดคาสสิก (Madecassic Acid) และกรดอะเซียติก (Asiatic Acid) สารเหล่านี้ทำให้บัวบกมีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สารสกัดใบบัวบกมีสรรพคุณยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดรอยหมองคล้ำ รอยด่างดำของผิว รอยแดง รอยแผลเป็นต่างๆ โดยเฉพาะรอยคล้ำใต้ตา กระตุ้นการสร้าง Collagen และelastin ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง ช่วยซอมแซ่มเซลล์ผิวที่สึกหรอ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อรา ลดอาการอักเสบของผิวและสิวอักเสบ ช่วยในการสมานแผล สร้างเซลล์ใหม่ให้กับผิว ช่วยเร่งทำให้เนื้อเยื้อทำงานได้เต็มที่สมานกันได้ดี ลดการเกิดรอยแผลเป็น ช่วยรักษาแผลเป็นทำให้รอยแผลเป็นมีขนาดเล็กลง มีสาร Anti-oxidant ที่สูงกว่าวิตามิน E ถึง 5 เท่า มีอีกสรรพคุณที่โดดเด่นของใบบัวบกคือ โดยปัญหาผมร่วงส่วนใหญ่ก็เกิดจากรากผมที่อ่อนแอและการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะไม่ดี ซึ่งสารสกัดใบบัวบกนี้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะ กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมและยังช่วยบำรุงให้รากผมแข็งแรง ป้องกันผมร่วงทำให้ผมที่ขึ้นใหม่มีความแข็งแรงและดกดำเงางามได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีแต่อย่างใด
consumption
1-5 % โดยเริ่มใช้จากปริมาณน้อยก่อนแล้วทดสอบประสิทธิภาพและยังสามารถเพิ่มอัตราส่วนเพื่อให้ได้ประสิทธิผลตามต้องการ ควรทดสอบการระคายเคืองทุกครั้งที่เพิ่มอัตราส่วนของสารสกัด
shelf life and storage
2 ปี นับจากวันที่ผลิต